1. /
    หมวดหมู่สินค้าทั้งหมด
  2. /
    น้ำมันเครื่อง ของเหลว
  3. /
    สารหล่อลื่นและเคมีภัณฑ์อื่นๆ
  4. /
    ปทุมธานี

น้ำมันเครื่อง ของเหลว สารหล่อลื่นและเคมีภัณฑ์อื่นๆ ปทุมธานี มือสอง

1 รายการ

1 รายการ

ช่วงราคา
-
เรียงตาม

ล้างตัวกรอง

ปทุมธานี
กรองน้ำมันเครื่องรถ JCB
icon-open-in-new

กรองน้ำมันเครื่องรถ JCB

฿ 950
icon-marker-outline
ปทุมธานี

รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

ช่วงนี้ ตลาดรถยนต์มือสอง ค่อนข้างเป็นที่นิยมสำหรับคนที่ต้องการหารถราคาไม่แพงมากนักมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น รถบรรทุกมือสอง , รถกระบะมือสอง หรือ รถยนต์มือสอง รุ่นต่างๆ ส่วนใหญ่ อายุการใช้งานมักจะเกิน 10 ปีทั้งนั้น ซึ่งรถที่มีอายุเกิน 10 ปีขึ้นไปนั้น ควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร วันนี้  Truck2Hand นำความรู้เกี่ยวกับ น้ำมันเครื่อง มาฝาก เผื่อเพื่อนๆ จะได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับรถ

น้ำมันเครื่อง แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร

น้ำมันเครื่อง ถือเป็นสารหล่อลื่นที่สำคัญที่สุดในกระบวนการทำงานของเครื่องยนต์ ผู้ใช้รถทุกคนคงเคยผ่านการนำรถไปถ่ายน้ำมันเครื่อง กันบ้าง เคยสงสัยกันไหมว่า น้ำมันเครื่องที่มีอยู่ในท้องตลาดบ้านเรา ต่างกันอย่างไร และแบบไหนที่เหมาะกับรถของเรา โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด หรือ เรียกว่า 3 เกรด

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว (เลขชุดเดียว เช่น SAE50)

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว จะมีค่าความหนืดที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเดียวตามฉลากบนแกลอน เช่น SAE50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้ข้างแกลอน ซึ่งเหมาะกับรถรุ่นเก่าๆ ที่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ หรือประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดีคือราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะอายุการใช้งานสั้น

2. น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad

น้ำมันเครื่องเกรดรวม หรือ Multi Grad เป็นน้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ เช่น ในอุณหภูมิสูงก็จะมีความใส พออุณหภูมิต่ำลงก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์ เรียกว่าใช้ดีทั้งเครื่องเย็น และ เครื่องร้อน สังเกตง่ายๆ คือจะระบุค่าความหนีดมาให้ 2 ชุด โดยมีตัวอักษร W คั่นกลาง เช่น SAE 20W50 หรือ API 15W40 เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มากในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ หาซื้อได้ทั่วไป

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ กึ่งสังเคราะห์ “Synthetic / SemiSynthetic

น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ หรือ “Synthetic”  คือ น้ำมันเครื่องที่ผลิตจากน้ำมันแร่ ซึ่งได้จากกระบวนการทางปิโตรเลี่ยม เพื่อให้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าน้ำมันแร่ทั่วไป เช่น ความคงทนต่อการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ อายุการเปลี่ยนถ่ายและการใช้งานนานขึ้น มีอัตราการระเหยต่ำลดปัญหาการสิ้นเปลืองหล่อลื่น รวมถึงแบบ กึ่งสังเคราะห์ (Semi-Synthetic) ที่ผลิตจากการนำน้ำมันแร่มาผสมกับน้ำมันพื้นฐานสังเคราะห์เพื่อเสริมคุณสมบัติให้ดีขึ้นกว่าน้ำมันเครื่องทั่วไป และมีราคาถูกกว่าน้ำมันเครื่องสังเคราะห์

แล้วอักษรย่อด้านหน้า หมายถึง อะไร?

API, SAE และ ASTM

หมายถึง ตัวย่อของสถาบันที่ทำการทดสอบ และ รับรองคุณภาพของน้ำมันเครื่องนั่นเอง ซึ่งหลักๆ แล้วจะมีอยู่ 3 สถาบัน คือ

1. API หรือ AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ค้นคว้าวิจัย และวางมาตราฐานเกี่ยวกับน้ำมันต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

2. SAE หรือ SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS อันนี้คือสมาคมที่ค้นคว้าวิจัยและวางหลักเกณฑ์มาตราฐานต่างๆ เกี่ยวกับรถยนต์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา

3. ASTM หรือ AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS ซึ่งเป็นสมาคมที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทดสอบวัตถุต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบบนี้มีให้เห็นไม่มากนัก โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูหนาว  และ น้ำมันเครื่องที่ใช้ในฤดูร้อน โดยที่เบอร์ความหนืดของน้ำมันเครื่องใน กลุ่มฤดูหนาว จะมีตัว W ซึ่งย่อมาจาก Winter ต่อท้าย เช่น 10W, 5W ซึ่งมีค่าความหนืดที่อุณหภูมิ -30 c ถึง -5 c ส่วนประเภทน้ำมันเครื่อง กลุ่มฤดูร้อน จะวัดค่าความหนืดที่ 100C ได้แก่ SAE 20, 30, 40, 50 และ 60 เบอร์ที่น้อยจะใส และ เบอร์ที่มากกว่าข้นกว่า

จากนั้นมาดูว่า อันไหนเป็น น้ำมันเครื่องสำหรับดีเซลหรือเบนซิน โดยสังเกตจาก มาตรฐาน API ซึ่งถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินจะมีตัวอักษร S หรือ (Service Stations Classifications) เช่น  API-SG , API-SM และ API-SN เป็นต้น แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C หรือ (COMMERCIAL SERVICE-COMPRESSION IGNITION) เช่น CD , CE หรือ CF4

ส่วนน้ำมันเครื่องที่ใช้ได้กับเครื่องยนต์ทั้ง 2 ประเภท นั้นจะมีตัวอักษรกำกับอยู่  2 ส่วน เช่น API SN / CF หมายถึงน้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ด้วยเพราะผ่านมาตรฐาน CF แต่เหมาะสำหรับเครื่องยนต์เบนซินมากกว่า สังเกตุไม่ยากคือค่าอะไรขึ้นก่อนแสดงว่าเหมาะกับเครื่องยนต์ประเภทนั้น

ถึงเวลาเลือกแล้ว…รถเก่าควรใช้น้ำมันเครื่องเบอร์อะไร

ทีนี้มาถึง วิธีเลือกน้ำมันเครื่อง ที่มีในบ้านเรานั้นมีเบอร์น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมอยู่หลายเบอร์ด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันมากได้แก่เบอร์ SAE 15W/40 และ 20W/50 ซึ่งถ้าจะเลือกใช้เบอร์ที่ต่างไปจากนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ขอให้เลือกเบอร์ความหนืดในช่วงฤดูร้อน หรือเลขตัวหลังที่เป็นเบอร์ 30 ขึ้นไป  เพื่อให้ทนกับสภาพอากาศร้อนๆ อย่างบ้านเรา แต่โดยหลักๆ แล้วคุณควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีความหนืดที่เหมาะสมกับสภาพของเครื่องยนต์ และสภาพการใช้งานของคุณ เช่น หากรถของคุณเป็นรถใหม่ ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ใส เบอร์ 30 ลงมา จะช่วยในการประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น เช่น SAE 10W-30 เป็นต้น

แต่หากรถของท่านเป็น รถยนต์รุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็น รถบรรทุก รถกระบะ รถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ หากมีอาการกินน้ำมันเครื่อง ก็ควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่มีเบอร์ความหนืดที่ข้นมากขึ้น เพื่อช่วยลดปัญหาการกินน้ำมันเครื่อง เช่น SAE 20W-50 เป็นต้นหรือจะให้ชัวร์ ก็ควรที่จะเลือกใช้น้ำมันเครื่องตามมาตรฐานที่คู่มือกำหนด หรือไม่ก็เลือกเกรดสูงกว่ามาตรฐานเล็กน้อย เพราะการใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกนานแสนนาน อ้อเมื่อเลือกกันถูกแล้วก็อย่าลืมเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดด้วยนะ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะการเปลี่ยนนั้นดูตามคู่มือของรถแต่ละรุ่นได้