เตือนภัยอันตรายจากสารพิษในเหตุไฟไหม้ ในการศึกษาเรื่องความเสียหายและอันตรายจากอัคคีภัย หนึ่งในหัวข้อสำคัญที่มักกล่าวถึงอยู่เสมอคือเรื่องของสารพิษที่เกิดขึ้นในขณะเกิดเพลิงไหม้ พิษหลักๆที่มักพบ และ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นลำดับต้นๆ เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุของการเสียชีวิตในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้นั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากการสำลักควัน เพราะควันสามารถ กระจายตัวได้เร็วมาก โดยภายในเวลาเพียงหนึ่งวินาที มันสามารถลอยสูงได้ถึง 3 เมตร ดังนั้นใน 1 นาที ควันสามารถลอยสูงขึ้นได้ถึง 180 เมตร เทียบเท่ากับตึกสูงประมาณ 60 ชั้น ดังนั้นหากเกิดไฟไหม้ควันไฟจะลอยเข้ามาปกคลุมรอบๆบริเวณอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา ผู้คนเริ่มให้ความสำคัญของการศึกษาเรื่องควันและสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้มากขึ้น โดยพิษดังกล่าวอาจให้ผลเฉียบพลัน หรือสะสมและให้ผลในระยะยาว โดยทั่วไปความรุนแรงของอันตรายที่เกิดจากความเป็นสารพิษของสารเคมีจะขึ้นอยู่กับ ปริมาณ ระยะเวลาสัมผัส และความเป็นพิษที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารเคมีนั้น ๆ รวมถึงช่องทางในการได้รับสารพิษเช่นทางผิวหนัง จมูก และปาก
เตือนภัยอันตรายจากสารพิษในเหตุไฟไหม้ ในบทความนี้ เราจะแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่ๆดังนี้
1.ชนิดและผลจากสารพิษที่ถูกปล่อยออกมาขณะเกิดไฟไหม้
ในมาตรฐาน ISO 13571 : 2007 จะพิจารณาว่ามี 4 ปัจจัยหลักที่ขัดขวางการหลบหนีออกจากกองเพลิง คือ ก๊าซพิษ, ก๊าซที่ทำให้เกิดการระคายเคือง, ควันไฟ และความร้อน
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า การเสียชีวิตจากอัคคีภัยส่วนไหญ่จะเกิดจากการสูดเอาสารพิษเข้าไปมากเกินไป สารพิษจากการเผาไหม้นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.1 สารพิษที่ทำให้หมดสติและเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ
สารชนิดนี้จะขัดขวางไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์ในร่างกาย ทำให้หมดสติ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ตัวอย่างที่สำคัญของก๊าซชนิดนี้คือ ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide, HCN) ซึ่งพบได้มากในวัสดุกลุ่มโพลียูรีเทน และ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(Carbon monoxide ,CO) ซึ่งพบได้ทั่วไปเมื่อมีออกซิเจนไม่เพียงพอขณะเผาไหม้ ทำให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์
1.1.1 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide ,CO)
เป็นก๊าซพื้นฐานที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของวัสดุทั่วๆไป เนื่องจากธาตุคาร์บอนเป็นธาตุ 1 ใน 6 ที่มีมากที่สุดในธรรมชาติ ความน่ากลัวของก๊าซคอร์บอนมอนอกไซด์คือ เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส จึงยากที่จะทราบว่าในบรรยากาศขณะนั้นมีก๊าซนี้อยู่มากน้อยเพียงใดหากไม่ใช้เครื่องมือตรวจจับ จึงอาจเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัวดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวว่ามีผู้เสียชีวิตจากการนอนในรถที่ติดเครื่องอยู่และมีการรั่วไหลของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าไปในตัวรถโดยปกติร่างกายจะได้รับออกซิเจนโดยออกซิเจนจะจับกับฮีโมโกลบินบนเม็ดเลือดแดง ฟอร์มตัวเป็น ออกซี่ฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) เพื่อลำเลียงเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่เมื่อก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกาย มันจะตรงเข้าแย่งจับกับฮีโมโกลบินบนเม็ดเลือดแดง ฟอร์มตัวเป็นคาร์บอกซี่ฮีโมโกลบิน (Carboxyhemoglobin, COHb) ซึ่งมีความเสถียรมากกว่าออกซี่ฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) ถึง 200 เท่า ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เป็นผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและความสามารถในการคิดถดถอยลงนอกจากนี้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ยังชอบไปจับกับ ไมโอโกลบิน (Myoglobin) ในเซลล์กล้ามเนื้อทำให้การซึมผ่านของออกซิเจนลดลง โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeletal Muscles) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จะมีการสะสมและใช้เวลาในการลดระดับการสะสม โดย 50% ของก๊าซจะหมดไปภายในชั่วโมงแรก แต่ที่เหลืออีก 50% อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะสลายตัวหมดผลกระทบต่อร่างกายจะขึ้นกับความเข้มข้นของก๊าซในกระแสเลือด เช่น
ที่ 10 ppm ในระยะเวลาสั้นๆจะทำให้ความสามารถในการตัดสินใจและการมองเห็นลดลง ที่ 250 ppm จะทำให้หมดสติ และ ที่ 1000 ppm จะทำให้เสียชีวิตในทันที
ส่วนการรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เจือจางในระยะยาวนั้น นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของระบบทางเดินหายใจ และหัวใจ
1.1.2 ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide, HCN)
ถือเป็นก๊าซที่อันตรายมากกว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ถึง 25 เท่า เป็นก๊าซที่ไม่มีสี แต่มีกลิ่นเหมือนอัลมอนด์จางๆจนแทบไม่ได้กลิ่น จากการไฮโดรไลซิสฟอร์มตัวเป็นไซยาไนด์ไอออน (Cyanide ion) เมื่อเข้าไปในกระแสเลือด และยับยั้งการใช้ออกซิเจนในเซลล์ทั่วร่างกายไฮโดรเจนไซยาไนด์จะทำให้หมดสติอย่างรวดเร็ว จึงทำให้หมดโอกาสในการหนีอย่างสิ้นเชิง จากการวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากไฮโดรเจนไซยาไนด์มากกว่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สันนิษฐานว่าเกิดจากการใช้พอลิเมอร์สังเคราะห์ที่มีไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบมากขึ้น
เช่นวัสดุกลุ่มไนไตรล์ (Nitrile) และกลุ่มโพลียูรีเทน (Polyurethane, PU) ที่มักใช้ในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ เช่น ฟองน้ำที่บุในเบาะและ ฉนวนโพลียูรีเทนโฟมนอกจากนี้ก๊าซไซยาไนด์ก็เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่ายมาก และทำปฏิกิริยาได้รุนแรง ก๊าซไซยาไนด์อาจจะระเบิดได้ เมื่อมี
ความเข้มข้นเกิน 5.6% ในอากาศ (เทียบเท่า56000 ppm)
1.2 สารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ
เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก, เยื่อบุนัยน์ตาทำให้แสบตา รวมๆแล้วคือทำให้ความสามารถการหลบหนีจากกองเพลิงลดลง และกรณีที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นคือเมื่อสูดเอาก๊าซที่เป็นกรดเหล่านี้มากเกินไป จะทำให้เนื้อปอดเสียหาย หายใจไม่ออก น้ำท่วมปอดและเสียชีวิตได้ในที่สุดตัวอย่างก๊าซเหล่านี้ก็เช่น ก๊าซกลุ่มฮาโลเจนเฮไลด์ (Hydrogen Halide) อย่างก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์
(Hydrogen Chloride, HCl), ไฮโดรเจนโบรไมด์ (Hydrogen Bromide, HBr) และ ไฮโดรเจนฟลูออไรด์(Nitrogen Fluoride, HF), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide, NO2), และซัลเฟอร์ไดออกไซด์(Sulphur Dioxide, SO2)เป็นต้น
1.2.1 ฮาโลเจนเฮไลด์ (Hydrogen Halides, HX)ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen Chloride, HCl) และไฮโดรเจนโบรไมด์ (Halogen Bromide, HBr) เป็นกรดรุนแรงที่แตกตัวได้เป็นอย่างดีในน้ำ ก๊าซที่เป็นกรดดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรงแม้ที่ความเข้มข้นต่ำที่ประมาณ 100 ppm แต่จะทำให้เสียชีวิตได้ต้องมีความเข้มข้นสูงขึ้นที่ 2600 ppm (ทดลองกับหนูเป็นเวลา30 นาที) มีรายงานฉบับหนึ่งรายงานว่ามนุษย์สามารถทน HCl ได้ที่ 10 ppm เมื่อความเข้มข้นสูงขึ้นเป็น 70 -100 ppm มนุษย์ต้องรีบหนีออกจากห้องเพราะเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง โดยมีอาการไอ และเจ็บหน้าอกร่วมด้วย รายงานดังกล่าวรายงานอีกว่ามนุษย์สามารถทน HCl ได้ 1 ชั่วโมงที่ความเข้มข้น 50 ppm และจะเป็นอันตรายมากเมื่อมีความเข้มข้น 1000 – 2000 ppm วัสดุที่เป็นรู้จักดีที่จะเกิดการเผาไหม้แล้วให้ก๊าซชนิดนี้ก็เช่น วัสดุโพลีไวนิลคลอไรด์ หรือพีวีซี (Polyvinylchloride, PVC), หนังเทียม ที่ทำจากพลาสติกไซส์โพลีไวนิลคลอไรด์ (Plasticized Polyvinylchloride) เป็นต้น
1.2.2 ออกไซด์ของไนโตรเจน (Nitogen Oxides) ก๊าซไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide, NO) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide, NO2) ทั้งสองชนิดนี้เป็นก๊าซที่ไม่ติดไฟ ซึ่งที่ความเข้มข้นสูงๆ ก๊าซไนตริกออกไซด์ จะออกซิไดซ์กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์อย่างรวดเร็ว และก๊าซ NO2 ก็สามารถละลายน้ำและกลายเป็นกรดไนตริก และกรดไนตรัสได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าที่ความเข้มข้นต่ำๆ กรดในตริกจะใช้ในการรักษาอาการที่เกี่ยวกับการหายใจ แต่ที่ความเข้มข้นสูงๆกรดเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการน้ำท่วมปอดและทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด นอกจากนี้มันยังสามารถเข้าไปจับกับ Oxyhemoglobin และHemoglobin ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง สารพิษลุ่มนี้ก็มักพบในวัสดุที่มีไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบเช่นโพลียูรีเทน และไนไตรล์เป็นต้น
1.2.3 สารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง (Organoirritants)สารอินทรีย์หมายถึงสารที่ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก ซึ่งธาตุคาร์บอนเป็นธาตุพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต และเป็นธาตุหนึ่งในหกที่มีปริมาณเยอะที่สุดในธรรมชาติ เช่นเป็นส่วนประกอบของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้น สารอินทรีย์เหล่านี้ เมื่อถูกเผาไหม้ หรือถูกออกซิไดซ์ จะก่อให้เกิดสารหลากหลายประเภท บางประเภท ไม่ได้มีผลต่อไพรเมต แต่บางประเภทก่อให้เกิดความระคายเคือง
1.2.4 ฝุ่น, เขม่าควัน และละอองต่างๆ (Particulates & Fumes)
สาเหตุการเสียชีวิตจากเหตุไฟไหม้ นอกเหนือไปจากการได้รับควันพิษ ซึ่งเป็นพิษโดยตรงแล้ว ยังอาจเกิดจากฝุ่นและเขม่าควันซึ่งขัดขวางการหายใจและมองเห็น ทำให้หนีไฟยากและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจควันไฟที่เกิดจากอัคคีภัยมีส่วนผสมที่ซับซ้อนที่อาจประกอบด้วยก๊าซกว่า 200 ชนิด และส่วนที่เป็นละอองของเหลว และ ของแข็ง (เช่นเขม่า, น้ำมันดิน) โดยจะเข้าไปในปอดได้ลึกแค่ไหนจะขึ้นกับขนาดของฝุ่นและเขม่าที่สูดดมเข้าไป
2. การประเมินค่าความเป็นพิษ
เตือนภัยอันตรายจากสารพิษในเหตุไฟไหม้ มีรายงานจำนวนมากกล่าวถึงการวัดระดับความเป็นพิษที่มีต่อมนุษย์ด้วยสัตว์ทดลองอย่าง หนู (rat & mouse) และไพรเมท (primate) เช่นลิง เปรียบเทียบค่า Lethal Concentration Fifty (LC50) ซึ่งก็คือ ความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศที่คาดว่าจะทำให้สัตว์ทดลองที่สูดดมในระยะเวลาที่ระบุไว้ ตายไปเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (50%) ของจำนวนเริ่มต้น โดยในการทดลองนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 นาที
เตือนภัยอันตรายจากสารพิษในเหตุไฟไหม้ ท้ายนี้ Truck2Hand ขออ้างอิงถึงเหตุการณ์ไฟไหม้โรงงานย่านกิ่งแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมี กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า สารที่เป็นอันตรายจากโรงงานแห่งนี้ที่ผลิตเม็ดพลาสติก และพลาสติกขั้นต้น คือตัวของสไตรีน โดยสารที่เกิดจากการไหม้ของสไตรีน คือ Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs) เขม่าคาร์บอน Carbon Black และ Carbon Monoxide ผลิตมาจากวัสดุพอลิเมอร์ชนิดพอลิสไตรีน (polystyrene) เมื่อเผาไหม้อาจทำให้เกิดสารอันตรายปะปนออกมา ได้แก่ สารสไตรีนและสารเบนซีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
สารสไตรีน
– ผลเสียต่อร่างกาย คือ ทำลายระบบฮอร์โมนในร่างกาย มีผลต่อระบบประสาท เม็ดเลือดแดง ตับและไต เมื่อถูกผิวหนังหรือเข้าตาหรือสูดดมเข้าไป ทำให้เยื่อเมือกเกิดการระคายเคือง มีอาการไอและหายใจลำบาก ปวดศีรษะ ง่วงซึม
สารเบนซีน
– จัดเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่ม 2B ตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องระบบการจำแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้สูดดมหรือกินเข้าไป
อาการหลังได้รับสารเบนซีน
– ทำให้วิงเวียน คลื่นไส้ หรือมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพาะถูกกัดกร่อน เวียนศีรษะ อาเจียน ง่วงนอน ชัก หัวใจเต้นแรง และอาจเสียชีวิต การได้รับสารเบนซีน เป็นเวลานานจะมีผลทำให้โลหิตจาง เนื่องจากสารเบนซีนจะเข้าไปทำลายไขกระดูก ทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ในอาคารต่างๆ ย่อมประกอบไปด้วยวัสดุต่างชนิดจำนวนมากมาย แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือระบบปรับอากาศโดยเฉพาะในระบบปรับอากาศส่วนกลางที่มีท่อส่งลมกระจายติดต่อกันไปทั่วทุกจุดในอาคาร ท่อที่ใช้กระจายความเย็นหรือความอุ่นสบายเหล่านี้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็สามารถกลายเป็นท่อส่งก๊าซพิษและควันได้เช่นกันแม้ว่าจะไม่มีใครอยากให้เกิดเพลิงไหม้ แต่เหตุการณ์เหล่านี้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจใช้วัสดุใดๆ ในอาคาร ควรศึกษาเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ของวัสดุหากเกิดเหตุเพลิงไหม้ นอกเหนือไปจากการเกิดสิ่งไม่พึงประสงค์จากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานเช่นการเปื่อยยุ่ยกลายเป็นฝุ่นผงของเนื้อวัสดุ รั่วซึมหรือการเกิดไอระเหยที่เป็นพิษออกมาเอง ส่วนเรื่องการติดตั้งและการใช้งานต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดีๆจากเราอย่าลืมแวะเข้ามาดู Blog ของเราบ่อยๆกันนะครับ https://www.truck2hand.com/blogs/ ที่มาข้อมูล : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/947138