ปัจจุบันรถยนต์กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราไปแล้ว เรื่องที่เราต้องทำประจำก็คงไม่พ้น “การเติมน้ำมัน” ที่ผ่านมาเราเติมน้ำมันบ่อยมาก แต่ไม่มีใครเคยบอกว่า การเติมน้ำมันยังงัยให้คุ้มค่า และ ประหยัดด้วย การเติมน้ำมันเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ และไม่มีใครเคยบอกคุณใช่ไหมว่า ใช้น้ำมันให้ถูกประเภท จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไม่น่าเชื่อ…
มารู้จัก “ออกเทน”…ตัวการความแตกต่าง
เชื่อเลยว่า คนจำนวนไม่น้อยก็พอจะรู้อยู่บ้างว่า ตัวเลข 91 – 95 ที่มีตามปั้ม คือค่า ออกเทนในน้ำมันเชื้อเพลิงที่เราใช้ แต่เคยสงสัยไหมว่า ค่าออกเทน คืออะไร แล้วมันสำคัญแค่ไหน
“ออกเทน” เป็นค่าที่เราใช้กันมายาวนาน เพื่อบอกว่า น้ำมันชนิดนั้นไวไฟมากแค่ไหน คุณรู้หรือไม่ว่า “ยิ่งออกเทนมาก ยิ่งไวไฟน้อย” เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสาร “ไฮโดนคาร์บอน” ถูกกกลั่นแยกออกมาจากในน้ำมันดิบ แต่ส่วนที่นำมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงมี 2 ชนิด คือ
- Isooctane (ออกเทน)
- Heptane (ไวไฟ)
ที่ส่งผลต่อการ ชิงจุดระเบิด เพื่อแยกชนิดน้ำมัน ให้เข้าใจตรงกับแล็ปทั่วโลกจึงใช้ค่าดังกล่าวในการอ้างอิง แต่ยิ่งค่า isooctane(ออกเทน) มากเท่าไร อาการชิงจุดระเบิดจาก Heptane ก็น้อยลง(ไวไฟน้อย) นานมาแล้วผู้ผลิตน้ำมันบางรายนำเรื่องนี้มาใช้การโฆษณา ว่าช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานเต็มประสิทธิภาพในการจุดระเบิดมากขึ้น ส่งผลเรื่องการทำงานและพละกำลังของเครื่องยนต์ จนคนทั่วไป จำเพียงค่า “ออกเทน” และเชื่อว่ายิ่งมากยิ่งดี
ค่าออกเทน เพียงเติมตามที่รถต้องการ ก็เริ่มประหยัดแล้ว
การเติมน้ำมันที่มีค่าออกเทนยิ่งเยอะ ไม่ได้เกี่ยวกับความแรง อย่างที่เข้าใจหากค่า ออกเทน ที่เหมาะสมสำหรับรถที่ใช้ จะถูกกำหนด โดยวิศวกรผู้สร้างเครื่องยนต์ ว่าเครื่องยนต์ในรถของคุณต้องเติมน้ำมันอะไร ออกเทนเท่าไร เพียงคุณต้องทราบค่าออกเทนที่เครื่องยนต์รถคุณต้องการ ก็สามารถเริ่มประหยัดทันที อย่างน้อย 30 สตางค์ เช่น เติมน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 91 แทน 95 เป็นต้น สามารถประหยัดเงินไปได้หลาย 10 บาท ถ้าเติมเต็มถัง และ ยิ่งค่าออกเทนในน้ำมันเยอะ ก็หมายความว่า น้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกกลั่นออกมาจากหอกลั่นหลายขั้นตอนมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมน้ำมัน ค่าออกเทนเยอะจึงแพงกว่า ค่าออกเทนไม่ได้ทำให้รถแรงขึ้น แต่สารแต่งเติมต่างหากที่มีส่วนช่วย
“ความประหยัด” ไม่ได้หมายความว่า คุณลดค่าใช้จ่ายอย่างเดียว แต่กลับกัน การใช้สิ่งต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เป็นอีกหนทางของแนวทางความประหยัดที่สามารถเลือกได้ ซึ่งในต่างประเทศเรียกว่า “การใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ” (FUEL EFFICIENCY)
การเติมน้ำมันได้ออกเทนตามเครื่องยนต์ต้องการก็เพียงพอ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในระหว่างการขับขี่ แต่ก็มีหลายคนกล่าวอ้างและมั่นใจว่า เมื่อเติมน้ำมันไฮออกเทนสูง รถของพวกเขากลับตอบสนองดีกว่าในการขับขี่ จนโยงมาถึงความเชื่อผิดๆ ว่า ยิ่งออกเทนสูง รถยิ่งแรง มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่เครื่องยนต์จะตอบสนองดีกว่าจากน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงกว่า เนื่องจากค่าออกเทน ถูกทำให้ทนการชิงจุดระเบิดในขั้นตอนการอัดของเครื่องยนต์ แต่สาเหตุสำคัญอีกด้านหนึ่งคือการใส่สารต้านชิงจุดระเบิดก็มีผลต่อการตอบสนองเครื่อง สารประเภท Oxygenate ถูกนำมาใช้ แทนสารตะกั่วที่เคยผสมน้ำมันเพื่อต่อต้านการชิงจุดระเบิด (เพิ่มค่าออกเทน) ลดปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากการเผาไหม้ และยังเพิ่มโมเลกุลออกซิเจนในน้ำมัน ยิ่งค่าออกเทนสูงก็ยิ่งเติมมากขึ้น ทำให้เมื่อเผาไหม้จึงมีความรุนแรงกว่าเล็กน้อย เราจึงรู้สึกว่าเครื่องยนต์ตอบสนองดี แล้วโยงความเชื่อไปยัง “ค่าออกเทน” ปัจจุบันสารนี้ถูกแทนที่ด้วยเอทนอลในเนื้อน้ำมัน ที่เราใช้กันในนาม “แก๊สโซฮอลล์” ด้วยความทันสมัยของเครื่องยนต์สมัยใหม่ ควบคุมระบบการทำงานด้วยอิเล็กทรอนิกส์ สามารถตรวจจับคุณลักษณะของการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเครื่องยนต์ได้ ถึงแม้ผู้ผลิตจะยังไม่มีการออกแบบเซนเซอร์ตรวจสอบเนื้อน้ำมันว่ามีส่วนผสมน้ำมันเป็นอย่างไร แต่ระบบควบคุมเครื่องยนต์ที่ทำงานโดยหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์สามารถตรวจวัดการเผาไหม้ได้จาก ออกซิเจนเซ็นเซอร์ (O2 Sensor) ที่ติดตั้งบริเวณท่อไอเสีย คอยตรวจการทำงานเซ็นเซอร์ ที่กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สำคัญของการตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์
เมื่อใช้ออกเทนสูง เครื่องยนต์จึงปรับจังหวะในการทำงาน อาทิการจ่ายน้ำมันและการจุดระเบิด ทำให้เครื่องยนต์ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือว่าง่ายๆ เครื่องยนต์เผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น
และในเครื่องยนต์บางแบบเช่นเครื่องยนต์ที่มีกำลังอัดสูง รวมถึงเครื่องยนต์สมัยใหม่บางรุ่นที่ติดตั้งระบบเทอร์โบชาร์จ(ศึกษาในคู่มือและรายละเอียดทางเทคนิคของรถ) น้ำมันออกเทนสูงสามารถดึงประสิทธิภาพการทำงานการตอบสนองของเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นได้เล็กน้อย เชื่อว่า คงพอจะเห็นแล้วว่า “ค่าออกเทน” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ มันเป็นเพียงการต้านการชิงจุดระเบิดเท่านั้น มาถึงจุดนี้ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วทำไมเราจึงรู้สึกถึงความแตกต่างจากกำลังและการตอบสนองของเครื่องยนต์ทันที เมื่อเราเปลี่ยนชนิดน้ำมันที่เราเติมใส่รถของเรา สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เรารู้สึก อยู่ในเนื้อน้ำมันที่เราเติม น้ำมันแต่ละประเภทมีส่วนผสม (โดยเฉพาะค่าเอทานอลที่ผสม) จะให้ “ความหนาแน่นพลังงาน” แตกต่างกันออกไป