1. /
    บทความ
  2. /
    ความเชื่อผิดๆ ที่เคยได้ยินมา สำหรับคนใช้รถ Ep.3 | เว็บบล็อก Truck2Hand - Truck2Hand.com

ความเชื่อผิดๆ ที่เคยได้ยินมา สำหรับคนใช้รถ Ep.3 | เว็บบล็อก Truck2Hand - Truck2Hand.com

ผู้เขียน: Mukยานยนต์ เทคนิคการใช้รถ6/5/2564
check email
แชร์
LINE
Facebook
Twitter
Pinterest
ความเชื่อผิดๆ ที่เคยได้ยินมา สำหรับคนใช้รถ Ep.3 | เว็บบล็อก Truck2Hand - Truck2Hand.com

ความเชื่อผิดๆ ที่เคยได้ยินมา สำหรับคนใช้รถ Ep.3 คำนิยาม “รักรถยิ่งกว่าเมีย” ประโยคนี้เคยได้ยินบ่อยๆ ที่มักถูกหยิบยกและนำมาเปรียบเทียบการดูแลเอาใจใส่ รถคันโปรด บางท่านว่าดูแลยิงกว่าภรรยาเสียอีก เมื่อใดฝุ่นจับขี้โคลนเกาะ หรือมีรอยขีดข่วนเล็กๆ หรือรอยนิ้วมือยังไม่ได้ ต้องรีบเช็ด รีบแก้ไข เพื่อให้มาอยู่ในสภาพสวยเนี๊ยบ หรือวิธีการอะไรที่เห็นดีและมีประโยชน์ ช่วยถนอมให้รถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นก็รีบนำมาทำหรือปรับใช้กับรถตนเองทันที

แต่อย่างไรก็ดี วิธีการดูแลรักษาหรือการใช้รถที่หลายคนยึดถือปฏิบัติบอกต่อกันมา ก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป และบางเรื่องอาจส่งผลเสียด้วยซ้ำ วันนี้ Truck2Hand ขอยกตัวอย่างความเชื่อแบบผิดๆ ที่ยังคงปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน

1.ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์

โดยทั่วไปเราแบ่งหัวเชื้อน้ำมันเครื่องออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่อง 

2.ประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่อง

โดยปกติน้ำมันเครื่องในปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่แล้ว จึงไม่ควรใส่สารอื่นเพิ่มเข้าไป ขืนยังใส่เข้าไปอาจทำลาย สัดส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุล กลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ได้ ประเภทนี้จึงไม่จำเป็น ส่วนประเภทหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืด เราคิดว่าอาจช่วยยืดอายุน้ำมันเครื่องที่หมดสภาพไปแล้วได้ หรือเครื่องยนต์ที่มีอายุการใช้งานมายาวนานพอจะช่วยได้บ้าง แต่เมื่อนึกถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมากกว่า การแก้ด้วยวิธีที่ถูกต้องคือ การซ่อมใหญ่ หรือเรียกว่า โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับคืนสู่สภาพดี

ผิด : ที่ถูกต้องน้ำมันเครื่องอาจจะหนืดเกินไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว

2.ผสมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไปจะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น

เช่นเดียวกับหัวข้อที่ 1. การนำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงๆ สักลิตร ครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำ หรือ ปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้หลอกครับ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่าเช่นเดียวกับการเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้นดี ราคาสูง ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป ส่วนการเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งานเพียงระยะสั้นทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า

3.เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ลูกใหญ่ขึ้น จะได้สตาร์ทง่าย

การใช้แบตเตอรีที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่เครื่องยนต์ ไดสตาร์ท และ ไดชาร์จ ยังมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะความต้องการไฟในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับไดชาร์จในอนาคตแบตเตอรีที่มีขนาดใหญ่มากเกินไปไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลงแทนวางแบตเตอรีใหม่เท่านั้นยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานหนักตลอดเวลา เพื่อบรรจุไฟเข้าไปเก็บในแบตเตอรี ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อไฟเต็ม หรือ อาจจะไม่ได้หยุดเลย เพราะแบตลูกใหญ่เกินไป

4.จากความเชื่อที่ว่า รถที่ใช้ดิสเบรก 4 ล้อปลอดภัยกว่ารถที่ใช้ดรัมเบรกหลัง

หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าจานเบรกใช้ได้ดีกับรถทุกรุ่นทุกขนาด แม้ว่าคุณสมบัติที่ดีของจานเบรกคือระบายความร้อนได้เร็ว ผู้ผลิตรถส่วนใหญ่ จึงใช้กับล้อหน้า ที่ผ้าเบรกจับตัวจานเบรกแทบจะตลอดเวลา ส่วนดรัมเบรกที่ระบายความร้อนได้ช้ากว่าเพราะมีฝาครอบ แต่มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจานเบรกและไม่มีปัญหาเบรกลอคเหมือนจานเบรกใช้ในล้อหลัง รถที่ใช้งานแบบทั่วไป รวมทั้งรถที่มีระบบเอบีเอสซึ่งวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกใช้จานเบรกตามความเหมาะสม การที่เจ้าของรถนำรถไปดัดแปลงใช้จานเบรกในล้อหลัง ต้องระวังเพราะหากล้อหลังหยุดก่อนล้อหน้าเมื่อไร อาจทำให้รถหมุนได้

5.ไม่ต้องเปลี่ยนใส่กรองอากาศ แค่เป่าลมก็ใช้ได้แล้ว

ปัจจุบันเป็นที่นิยมทำกัน การใช้ลมเป่าใสกรองอากาศ เมื่อมีฝุ่นติดเต็ม จนมองไม่เห็นสีเดิม วิธีนี้ช่วยให้ฝุ่นละอองเบาบางลงได้ อากาศไหลผ่านได้ดียิ่งขึ้น แต่มีข้อเสีย ถ้าเป่าแรงเกินไปแผ่นกรองอาจเสียหาย จนใช้งานต่อไม่ได้เพราะทำให้รูกว้างจนฝุ่นขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ คิดแล้วไม่คุ้ม ยอมจ่ายเงินซื้อของใหม่มาใส่จะคุ้มกว่า แล้วหันมาล้างคาร์บูเรเตอร์ หรือหัวฉีด จะช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันทางอ้อม อีกด้วย

6. วางเท้าไว้คาไว้บนแป้นคลัทช์ เพื่อสามารถใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ

เรื่องนี้น่าจะเป็นความเคยชิน ของแต่ละบุคคล สำหรับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดา ไม่ใช่พฤติกรรมที่น่าเลียนแบบ โดยปกติ รถเกียร์ธรรมดาจะต้องคอยระวังเครื่องดับ เมื่อเหยียบเบรกแรงๆ หรือหยุดรถ หลายคนจึงไม่ยอมยกเท้าจากแป้นคลัทช์ทั้งๆ ที่เข้าเกียร์ ว่าง(N)ไว้ การวางเท้าไว้บนแป้นคลัทช์ตลอดเวลา บางครั้งอาจจะเผลอทิ้งน้ำหนักลงไปที่เท้า จนคลัทช์ทำงานส่งผลกระทบโดยตรงกับผ้าคลัทช์ และหวีคลัทช์ จนถึงไฟร์วิล ทำให้สึกหรอมากกว่าที่ควรจะเป็น

เรื่องเหล่านี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ผู้ใช้รถกระทำ ด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขได้ก็จะช่วยประหยัดความสิ้นเปลือง และค่าใช้จ่ายได้มาก

7.หงายมือสอดเข้าไปพวงมาลัยเวลายูเทิร์นจะช่วยให้ออกแรงน้อยลง

ปัจจุบันเทคโนโลยีของรถยนต์พัฒนาไปมาก การเลี้ยวรถทำได้ง่ายดายโดยไม่ต้องออกแรงเยอะเพราะมีเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรง การหงายมือจับพวงมาลัยเวลาเลี้ยว เป็นวิธีการใช้รถที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เสี่ยงต่อการบาดเจ็บในกรณี ที่ล้อหน้าสะดุดก้อนหินหรือตกหลุม ก้านพวงมาลัยก็จะตีกลับมาตีข้อมือหากชักมืออกไม่ทัน การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องมี2วิธี

วิธีที่ 1. สำหรับวิธีการ “เลี้ยว” ในรูปแบบ Push & Pull 

แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่าการ “ดึง และ ดัน” ซึ่งลักษณะการจับของมือข้าง 2 ข้างจะอยู่ในแนวตรงข้ามกัน และส่วนใหญ่ก็ใช้ในเหตุการณ์ที่เจอโค้งองศาลึกๆ หรือความเร็วต่ำๆ เป็นต้น เช่น ในกรณีที่เลี้ยวขวา จะใช้มือขวาเป็นมือหลักในการออกแรงดึงพวงมาลัยพร้อมกับใช้มือซ้ายช่วยประคอง และดันให้พวงมาลัยหมุนไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกัน รวมถึงทำแบบเดียวกันในกรณีเลี้ยวซ้ายด้วยเช่นกัน ซึ่งมือซ้ายจะทำหน้าที่เป็นมือหลักในการดึงพวงมาลัย และใช้มือขวาประคองช่วยดันไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกันกับมือซ้าย

วิธีที่ 2. Hand Over Hand … เลี้ยวสไตล์ “ขาซิ่ง”

คือ Hand Over Hand หรือการเลี้ยวแบบ “ไขว้มือ” โดยวิธีการเลี้ยวแบบนี้มักจะใช้เมื่อรถเริ่มมีความเร็ว หรือในโค้งที่มีองศากว้างๆ ลักษณะทั้ง 2 มือยังจับพวงมาลัยในตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาซึ่งกรณีเลี้ยวขวาให้ทำการหมุนพวงมาลัยไปทางขวา โดยเมื่อแขนทั้ง 2 ข้างไขว้กัน แต่วงเลี้ยวยังไม่พอ ก็ให้ปล่อยมือที่อยู่ในตำแหน่งด้านล่าง อ้อมกลับขึ้นมาจับพวงมาลัยในตำแหน่งเดิม คือ 9 นาฬิกาอีกครั้ง แล้วหมุนพวงมาลัยเพื่อเพิ่มองศาการเลี้ยวรวมถึงในกรณีการเลี้ยวซ้ายด้วยเช่นกัน โดยเมื่อแขนทั้ง 2 ข้างจะไขว้กัน แต่วงเลี้ยวยังไม่พอ ก็ให้ปล่อยมือที่อยู่ในตำแหน่งด้านล่าง อ้อมกลับขึ้นมาจับพวงมาลัยในตำแหน่งเดิม คือ 3 นาฬิกาอีกครั้ง เพื่อหมุนพวงมาลัยเพิ่มองศาการเลี้ยวทั้ง 2 รูปแบบเท่ๆ ของการเลี้ยวนั้นเป็นเรื่องฝึกหัดกันไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะหลายคนยังติดนิสัยแบบเดิมๆ ที่เคยทำกันมาว่ากันตั้งแต่ “การจับพวงมาลัย” เลยทำให้มันเป็นเรื่องงงๆ ชนิดที่มือไม้พันกันวุ่นวายทีเดียว ถ้าจะใช้วิธีการเลี้ยวทั้ง 2 รูปแบบ

ฉะนั้นเอาเป็นว่าถ้าอยากขับขี่รถแบบเท่ๆ และปลอดภัย ควรเริ่มต้นให้แน่นด้วยพื้นฐาน “การจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้อง” ก่อน แล้วมันจะเป็นเรื่องที่ “ง่ายมาก” ถ้าจะนำวิธีการเลี้ยวทั้ง 2 รูปแบบไปฝึกใช้ เพื่อให้ขับขี่รถยนต์ และควบคุมรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8. ฝนตกหนัก ปรับเป็นขับเคลื่อน 4 ล้อเกาะกว่า…2 ล้อ

ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อแต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบพาร์ทไทม์หรือ “ตามต้องการ” ในรถพิคอัพ หรือพีพีวีที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัดหรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูงล้อหน้าที่ถูกลอคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้นจึงมีรถประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดานได้ง่ายขึ้น ต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือ “ตลอดเวลา” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน

9.สำหรับสายจอด คอยสตาร์ทเครื่องทิ้งไว้ครั้งละ 10 นาที เป็นการชาร์จแบตเตอรี่

การสตาร์ทรถแล้วจอดไว้ 10 นาทีเพื่อหวังในการชาร์จแบตฯ นั้น ที่จริงแล้วไม่ช่วยในการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เลย อีกทั้งเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมัน เหม็นควัน และ เสียเวลาเปล่า และอาจทำให้ไฟในแบตฯหมดไวขึ้นด้วย แต่ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง คือ ช่วยไล่ความชื้นในน้ำมันเครื่องได้

สาเหตุเพราะรอบเครื่องไม่สูงพอ เครื่องยนต์จะเดินด้วยรอบเครื่องเดินเบาประมาณ 700-900 รอบต่อนาทีเท่านั้น กระแสไฟฟ้าที่ได้ จะเพียงพอสำหรับการเลี้ยงระบบต่างๆ ในรถยนต์เท่านั้น แต่อาจไม่พอที่จะส่งไปเก็บถึงแบตเตอรี่ การที่จะชาร์จแบตเตอรี่ได้ ต้องเร่งเครื่องให้รอบสูงถึง 1500-2000 รอบต่อนาที และ ระยะเวลาต้องนานพอ อย่างน้อย 1 ชม. ขึ้นไป ไดชาร์จจึงจะชาร์จไฟเข้าแบตฯ

การสตาร์ทแต่ละครั้ง ดึงไฟออกจากแบตฯไปเป็นจำนวนมาก ลองนึกภาพดูว่าคุณใช้ขันตักน้ำออกจากถังแต่ไม่มีการเติมน้ำกลับเข้าไปเลย ทำไปเรื่อยๆเดี๋ยวแบตฯก็หมด วิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพที่สุดในการดูแลแบตเตอรี่ สำหรับรถจอดนานคือการใช้ตัวช่วย คือเครื่องชาร์จแบตเตอรี่อัจฉริยะ เราแนะนำให้คุณเลือกเครื่องชาร์จแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพ เพราะนอกจากจะป้องกันรถสตาร์ทไม่ติดและช่วยยืดอายุแบตเตอรี่อย่างได้ผลแล้ว ยังปลอดภัยต่อรถ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และไม่ทำให้แบตเตอรี่ของคุณเสีย

10.รถจอดทิ้งไว้นาน ควรนำรถไปขับวนรอบๆ หมู่บ้านเพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่

การนำรถไปขับวน เมื่อจอดทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพื่อรักษาสภาพของแบตเตอรี่นั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง แต่รถคุณต้องวิ่งด้วยรอบเครื่องที่สูงพอ และ ระยะเวลาที่นานพอ หากคุณนำรถขับวน เพียงระยะทางสั้นๆ เช่นการขับวนในหมู่บ้าน กระแสไฟจากไดชาร์ท จะมีไม่มากพอในการส่งไปเก็บในแบตเตอรี่

โดยข้อมูล  ระบุว่าถ้าหากคุณต้องการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ ด้วยวิธีการขับรถ รอบของเครื่องยนต์ต้องอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 รอบต่อนาที และขับขี่เป็นเวลานานอย่างน้อย 60 นาที เพื่อทำให้กระแสไฟมีมากพอแม้เครื่องยนต์จะดับอยู่ ทั้งนี้ระยะเวลาการชาร์จไฟ หรือ การขับรถวน ขึ้นอยู่กับสภาพของแบตเตอรี่ด้วย แต่ถ้าหากต้องการให้มีกระแสไฟชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มประจุไฟ คุณต้องขับรถเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงขึ้นไป

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดีๆจากเราอย่าลืมแวะเข้ามาดู Blog ของเราบ่อยๆกันนะครับ  
https://blog.truck2hand.com/

แชร์

LINE
Facebook
Twitter
Pinterest

หมวดหมู่

ยานยนต์ เทคนิคการใช้รถ