1. /
    บทความ
  2. /
    4 ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า "HEV, PHEV, BEV และ FCEV" ต่างกันอย่างไร - Truck2Hand.com

4 ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า "HEV, PHEV, BEV และ FCEV" ต่างกันอย่างไร - Truck2Hand.com

ผู้เขียน: Nitikornข่าวสาร, ยานยนต์ เทคนิคการใช้รถ31/5/2565
check email
แชร์
LINE
Facebook
Twitter
Pinterest
4 ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า "HEV, PHEV, BEV และ FCEV" ต่างกันอย่างไร - Truck2Hand.com

สวัสดีแฟนๆ Truck2hand ต้องบอกว่าช่วงนี้ กระแสรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงมากๆ ไม่ว่าใครต่อใครก็พูดถึงรถยนต์ไฟฟ้ากันทั้งบ้านทั้งเมือง มีใครเคยสงสัยกันไหมครับ ว่า ผู้ผลิตจำแนก ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า ไว้กี่ประเภท แต่ละประเภทมีชื่อเรียกว่าอะไร และ แตกต่างกันอย่างไร

วันนี้แอดมิน จะมาไขข้อสงสัย และ สร้างความเข้าใจให้กับแฟนๆ Truck2hand ในเรื่อง ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า “HEV, PHEV, BEV และ FCEV” ว่าต่างกันอย่างไร เผื่อใครกำลังมองหารถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้ในอนาคตอันใกล้นี้

ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร?

รถยนต์ไฟฟ้า คือ รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ รถบางรุ่นอาจจะใช้พลังงานจากการสันดาปน้ำมันเชื้อเพลิงร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับพลังงานไฟฟ้าที่นำมาใช้งานนั้น มีทั้งที่ผลิตจากเครื่องยนต์สันดาป การอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอก เข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ และในรถบางรุ่น อาจใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ( น้ำ ) ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์เชื้อเพลิง

ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า

จากสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 และมลพิษในอากาศ ที่เราต้องเผชิญกันทุกปี รวมไปถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นแบบไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเมื่อไหร่ ทำให้ลูกค้าหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น ประกอบกับค่ายรถยนต์หลายๆค่าย ทั้งญี่ปุ่น จีน อเมริกา ทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ กันหลายรุ่น วันนี้ Truck2hand จึงขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า ว่ามีกี่ประเภทและแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว เราเริ่มไปทำความรู้จักกับ 4 ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า “HEV, PHEV, BEV และ FCEV”

รถยนต์ไฟฟ้า ระบบ HEV 

รถยนต์ไฟฟ้าระบบ HEV ย่อมาจาก Hybrid Electric Vehicle ที่บางท่านจะเรียกว่า รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องสัปดาปเหมือนรถยนต์ทั่วไป คือ ใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง มีทั้งน้ำมันเบนซินและดีเซล แต่รถประเภทนี้จะพิเศษตรงที่จะมีมอเตอร์ไฟฟ้า และ แบตเตอรี่ เข้ามาเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเพิ่มเติมด้วย 

โดยสามารถแยกได้ 2 ระบบ คือ 

1.ระบบที่ 1 คือ เครื่องยนต์จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อน ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าจะชาร์จไฟเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่ เพื่อช่วยการขับเคลื่อน หรือในบางเงื่อนไข มอเตอร์จะทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนรถยนต์แทนเครื่องยนต์ เช่น ในรอบความเร็วต่ำ

2. ระบบที่ 2 คือ เครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า จะทำหน้าที่สลับกัน คือ มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ขับเคลื่อน ส่วนเครื่องยนต์จะทำหน้าที่ในการปั่นกระแสไฟฟ้าเข้ามาเก็บในแบตเตอรี่

และตัวรถยังสามารถแปลงความหน่วงที่เกิดขึ้นจากการเบรกมาเป็นพลังงานไฟฟ้าเก็บในแบตเตอรี่ และ นำออกมาใช้งานได้อีกด้วย จึงทำให้รถยนต์ประเภทนี้ประหยัดน้ำมันมากกว่า เครื่องยนต์สันดาปเพียวๆ

แหล่งพลังาน น้ำมันเชื้อเพลิงทั่วไป ทั้งเบนซินและดีเซล

รถยนต์ในกลุ่มนี้ เช่น Toyota Corolla Hybrid หรือ Honda Civic Hybrid

รถยนต์ไฟฟ้าระบบ PHEV

รถยนต์ไฟฟ้า PHEV ย่อมาจาก Plug-in Hybrid Electric Vehicle หรือที่บางท่านเรียกว่า รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด เป็นรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์สันดาปแบบเดิม ใช้งานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า รถประเภทนี้พลังงานหลักที่บรรจุอยู่ในแบตเตอรี่ จะมาจากแหล่งภายนอก คือ การเสียบปลั๊กชาร์จไฟ สำหรับรถบางรุ่นเครื่องยนต์ที่ติดตั้งมา สามารถทำงานปั่นกระแสไฟฟ้าไปเก็บในแบตเตอรี่เพิ่มเติมได้อีกด้วย

ส่วนระบบการขับเคลื่อนมีทั้งแบบใช้เครื่องยนต์ และ มอเตอร์ไฟฟ้า เช่น ในรถบางร่น สามารถใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับแบบ 100% หลังจากที่พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หมด สามารถสลับมาใช้พลังงานจากเครื่องยนต์สันดาปทดแทนได้ 

อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันจะต่ำกว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบบ HEV

แหล่งพลังงาน น้ำมันเชื้อเพลิง และ แบตเตอรี่ไฟฟ้า

รถยนต์ในกลุ่มนี้ เช่น MG HS PHEV, Volvo XC40 Recharge

ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าระบบ  BEV

รถยนต์ไฟฟ้า BEVย่อมาจาก Battery Electric Vehicle หรือที่เรียกกันว่า รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ ซึ่งในบางค่าย อาจจะใช้คำว่า PEV ซึ่งย่อมาจาก Pure Electric Vehicle รถไฟฟ้าประเภทนี้ เรียกได้ว่า เป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีแต่มอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนอย่างเดียว ไม่มีเครื่องยต์สันดาป ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ไฟฟ้า และแหล่งพลังงานที่บรรจุเข้าแบตเตอรี่ จะมาจากแหล่งภายนอกเท่านั้น รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ จะไม่มีการปล่อยมลพิษ เพราะ ไม่มีการสันดาปจากเครื่องยนต์ จึงไม่มีการเผาไหม้ ไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซส์ (CO2) ปลดปล่อยออกมา เรียกว่าเป็น รถยนต์ Zero Emission 

ต้องบอกว่ารถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ เป็นเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ในอนาคต เพราะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งคาดว่าจะหมดลงในอนาคตอันใกล้นี้

แหล่งพลังงาน แบตเตอรี่ไฟฟ้า

รถยนต์ในกลุ่มนี้ เช่น Nissan Leaf, Ora good cat

รถไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า ระบบ FCEV ประเภทรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าระบบ FCEV ย่อมาจาก Fuel Cell Electric Vehicle คือ รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง รถยนต์ไฟฟ้าประเภทนี้ สำหรับตลาดลูกค้าคนไทย อาจจะยังไม่คุ้นหู และยังใหม่สำหรับตลาดบ้านเรา รถยนต์ไฟฟ้า FCEV ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) รถประเภทนี้ไม่มีการปล่อยมลพิษ และ CO2 จะมีเพียงน้ำที่เหลือจากการเปลี่ยนเป็นพลังงานเท่านั้น ที่ปล่อยออกมา

แหล่งพลังงาน เชื้อเพลิงไฮโดรเจน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับข้อมูลที่แอดมิน นำมาฝากแฟนๆ Truck2hand ในวันนี้ น่าจะช่วยไขข้อสงสัยให้กับใครหลายๆคน

สุดท้ายแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ลักษณะการใช้งานของลูกค้าแต่ละคน ว่า รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไหน จะเหมาะสมกับตนเองที่สุด เพราะ รถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละประเภทก็มีจุดเด่น ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเรื่อง ความประหยัด ที่ตอบโจทย์การใช้รถยนต์ในยุคสมัยนี้แน่ๆครับ

สำหรับสาระความรู้ในตอนหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ฝากแฟนๆติดตาม ให้กำลังใจกันด้วยนะครับ

เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดีๆจากเราอย่าลืมแวะเข้ามาดู Blog ของเราบ่อยๆกันนะครับ

รถบัสไฟฟ้า ออกแบบและผลิตโดยคนไทย

แปลงรถบรรทุก และ รถกระบะ เป็นรถไฟฟ้า EV

รถกระบะไฟฟ้า

3 รถยนต์ไฟฟ้าน่าใช้

รถมือสองน่าใช้

แหล่งรูปภาพ

https://www.freepik.com/free-vector/electric-car-concept-illustration_6201164.htm#query=electric%20car&position=12&from_view=search

https://www.autoinfo.co.th/online/383738/

https://www.headlightmag.com/officialprice-volvo-xc40-recharge-t5-plug-in-hybrid/

https://www.toyota.co.th/model/corollacross

แชร์

LINE
Facebook
Twitter
Pinterest

หมวดหมู่

ข่าวสารยานยนต์ เทคนิคการใช้รถ