ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้ เป็นช่วงที่เพื่อนๆ ได้หยุดยาวกลับบ้านไปหาครอบครัว บ้างก็ไปเที่ยว เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ต้องใช้รถใช้ถนนร่วมกับคนอื่นๆ เพราะฉนั้นความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยก็สำคัญไม่น้อย ยิ่งในยุคนี้ด้วยแล้วอะไรก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเรานั่งอยู่หลังพวงมาลัย วันนี้ Truck2Hand ขอเสนอ 9 เทคนิคขับรถปลอดภัย ที่ควรรู้ก่อนขับรถ จะทำให้คุณใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัยตลอดเส้นทาง
1. จัดท่าทาง ก่อนขับรถ
ก่อนขับรถทางไกลทุกครั้ง ผู้ขับควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เตรียมผ้าเย็นเวลาง่วงและสวมแว่นตากันแดดขณะขับรถ ที่สำคัญควรตรวจสภาพของรถยนต์ให้พร้อมใช้งานปรับการนั่งขับรถให้ถูกต้อง โดยเลื่อนเบาะที่นั่งให้อยู่ในระดับเหมาะสมกับตนเอง หลังพิงพนักพอดี ไม่นั่งห่างหรือชิดพวงมาลัยมากเกินไปเพราะจะทำให้หลังโค้ง พิงพนักไม่ได้ หรือพิงได้แต่เวลาขับต้องเหยียดแขนและเข่ามากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลัง ซึ่งหากปวดหลังเป็นเวลานานและไม่มีการดูแลอย่างถูกวิธี อาจทำให้เสี่ยงปวดหลังถาวรได้ ส่วนผู้ที่ขับรถทางไกลก็ควรหยุดพักทุก 2 ชั่วโมง ยืดเหยียดร่างกาย เพื่อลดความเมื่อยล้า ก่อนเดินทางต่อไป
2. มีสมาธิกับการขับรถ
ตลอดเส้นทาง คุณจำเป็นจะต้องใช้สายตาสาดส่ายไปมา มองกระจกข้างบ้าง กระจกมองหลังบ้าง และ ไม่ว่าจะเป็นในการเปลี่ยนเลน หรือ ขับรถทางตรง ก็ต้องเหลือบตามองเป็นระยะให้สม่ำเสมอ การละสายตาไปมองอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นระบบนำทาง ปรับเครื่องเสียง ก้มหยิบของ เพียงไม่กี่วินาที ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงงดใช้โทรศัพท์ในขณะที่ขับรถด้วย และ อีกสิ่งที่จำเป็นต้องละสายตาจากถนน อย่าลืมมองที่หน้าปัดบ้างเป็นระยะ เพื่อเช็กสิ่งผิดปกติต่างๆ ของระบบการทำงานของรถยนต์
3. มองถนนให้ไกล
อีกหนึ่งพฤติกรรมการขับรถที่ไม่ดีคือการจ้องมองพื้นถนนข้างหน้ารถหรือท้ายรถคันหน้า ทางที่ดีคุณควรฝึกมองไปข้างหน้าไกลๆ อย่างเช่น ขณะที่เข้าโค้งก็ให้มองจุดออกจากโค้ง การมองแบบนี้ อาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนจะหลุดออกไปนอกถนน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเพราะการมองเห็นทั้งโค้ง จะช่วยให้คุณเข้าโค้งตามไลน์ได้ถูกต้อง ความเร็วก็สำคัญ ไม่ขับรถเกินกว่ากฎหมายกำหนด
4. นั่งทับกระเป๋าตังค์ใช่ว่าดี
หลายๆ คนชอบเอากระเป๋าตังค์ไว้ที่กระเป๋าหลัง โดยเฉพาะผู้ชาย แล้วไปนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ จะทำให้สะโพกสองข้างหนาไม่เท่ากัน เวลานั่งบนเบาะกระดูกสันหลังก็เลยคดและส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก รวมถึงยังเป็นการเพิ่มแรงกดลงบนเส้นประสาทบริเวณกระดูกสะโพกซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง
5. กำจัดน้ำหนักที่ไม่จำเป็น
หลายคนชอบเอาของใช้มาไว้ในท้ายรถ เป็นการเพิ่มน้ำหนักรถโดยไม่จำเป็น และ จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันไปด้วย ควรเอาของใช้ที่ไม่จำเป็น ออกจากรถบ้าง รวมถึงอุปกรณ์เสริมติดรถที่ใช้เป็นบางเวลา อย่างเช่น แร็คติดจักรยาน ที่วางสัมภาระบนหลังคา เมื่อไม่ได้ใช้ก็ควรถอดออก
6. ร่างกายต้องการของหวาน
การนั่งขับรถเป็นเวลานานๆ ร่างกายมีความตื่นตัวตลอดเวลาทั้งสายตา แขน มือ ขาและเท้า ทำให้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ จะเกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้แนะนำให้เลือกกินผลไม้ที่เป็นแหล่งวิตามินซี เช่น ส้ม ฝรั่ง ฯลฯ เพราะวิตามินซีจะช่วยต้านความเหนื่อยล้าที่มาจากความเครียดและกังวลขณะขับรถ แต่การกินฝรั่งต้องระวังในเรื่องท้องอืด อาจจะเลือกกินแอปเปิ้ลมะม่วงดิบ สับปะรด ส้ม จะบรรเทาความง่วงได้อย่างดีอาหารประเภทกลุ่มโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเหลือง อาหารทะเล ไข่ จะช่วยให้มีพลังกระฉับกระเฉง ตื่นตัวควรเลี่ยงกินอาหารประเภทข้าวแป้ง-น้ำตาล เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว และข้าวเหนียวในปริมาณมากเกินไป เพราะการกินข้าว-แป้ง แล้วก็ยังมีผลไม้จำพวกกล้วยหอม รับทานในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโทนินออกมาในสมอง จะทำให้ง่วงซึมได้
7. อากาศภายในรถ
เคล็ดลับขับรถอีกอย่างหนึ่งที่หลายคนมองข้าม เวลาขับรถในเมืองให้ปรับแอร์เป็นระบบหมุนเวียน เพื่อป้องกันกลิ่นไอเสีย หรืออากาศร้อนจากห้องเครื่องเมื่อรถติดเข้ามาในรถ ทำให้แอร์ทำงานหนักมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อต้องการขับรถทางไกล และมีผู้โดยสารอยู่หลายคน ทำให้อากาศภายในหมุนเวียนภายในไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะมีอาการง่วงนอนได้ ให้เปิดระบบเอาอากาศข้างนอกเข้ามาเป็นระยะ ๆ
8. ขับรถแล้วปวดหลังทุกที
หลายคนมีปัญหากับพนักพิงหลังเบาะรถ ไม่ว่าจะอ่อนไปหรือแข็งไปบ้าง แนะนำให้หาตัวรองหลังสำหรับเบาะนั่งรถยนต์ มาหนุนหลัง หรือจะใช้หมอนใบขนาดพอเหมาะมารองแทนก็ได้ ยิ่งคุณประคองกระดูกสันหลังได้มากเท่าไรโอกาสที่จะปวดหลังยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น
9. อย่าขับรถจี้ท้าย…
อุบัติเหตุบนท้องถนน รถชนท้ายมีให้เห็นกันอยู่ทุกวัน ซึ่งมีผลต่อเสียทรัพย์สินแล้วยังเสียเวลาอีก บางครั้งอาจถึงชีวิต และ ยังส่งผลทำให้สภาพ การจราจรติดขัดยิ่งขึ้น จึงมีข้อสงสัยจากผู้ขับขี่โดยเฉพาะมือใหม่ว่า เทคนิคการขับรถต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้าเท่าไร วัดกันแบบไหน ถึงจะเรียกว่า ระยะปลอดภัย ตามนี้ครับ ห่างจากรถคันหน้าพอสมควรในระยะปลอดภัยที่หยุดรถได้ทัน เมื่อจำเป็นต้องหยุด แต่เมื่อมองตามหลักปฏิบัติแล้ว การเว้นระยะห่างคันหน้านั้นมีด้วยกันหลายตัวแปร ไม่ว่าจะเป็นสภาพการจราจร สภาพพื้นผิวถนน ไปจนถึงสภาพอากาศ เพื่อให้สามารถเทียบเป็นระยะทางได้ง่าย ๆ ว่า ทุก ๆ อัตราเร็ว 10 กม./ชม. จะเว้นระยะห่างไว้ 5 เมตร เช่น อัตราเร็ว 50 กม./ชม. จะเว้นระยะห่างไว้ 25 เมตร แต่ในสภาพภูมิอากาศที่แย่ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น สภาพถนนที่ลื่น ควรเพิ่มระยะห่างอย่างน้อยสองเท่า หรือ คุณต้องมีระยะห่างจากรถคันหน้า 2 วินาทีขึ้นไป หมายถึงระยะห่างจากรถยนต์คันหน้าเมื่อเทียบเป็นระยะเวลาในการวิ่งรถแล้วไม่ต่ำกว่า 2 วินาที ในกรณีของสภาพภูมิอากาศที่แย่ เช่น ถนนเปียก ฝนตก ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อยเท่ากับ 4 วินาทีคือ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ถึงจะเรียกว่าระยะปลอดภัย แต่ถ้ายังไม่มั่นใจ บันทึกเก็บติดตัวไว้เลยครับ