1. /
    บทความ
  2. /
    เปลี่ยนผ้าเบรก จำเป็นต้องเจียรจานเบรกด้วยหรือไม่ | เว็บบล็อก Truck2Hand - Truck2Hand.com

เปลี่ยนผ้าเบรก จำเป็นต้องเจียรจานเบรกด้วยหรือไม่ | เว็บบล็อก Truck2Hand - Truck2Hand.com

ผู้เขียน: Mukยานยนต์ เทคนิคการใช้รถ29/3/2564
check email
แชร์
LINE
Facebook
Twitter
Pinterest
เปลี่ยนผ้าเบรก จำเป็นต้องเจียรจานเบรกด้วยหรือไม่ | เว็บบล็อก Truck2Hand - Truck2Hand.com

“เบรก” เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมรถยนต์ มีหน้าที่สำคัญคือทำให้รถ ชะลอตัวและหยุดตามความต้องการของผู้ขับขี่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ผู้ใช้รถหลาย ๆ ท่านคงสงสัยว่าทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรกจำเป็นไหมที่จะต้องเจียรจานเบรกด้วยเสมอ และ เหตุผลใดที่เราต้องเจียรจานเบรก วันนี้ Truck2Hand จึงขอนำทุกท่านมาหาคำตอบ

คำถามยอดฮิต เปลี่ยนผ้าเบรก ต้องเจียรจานเบรกด้วยไหม ลองค้นหาในอินเตอร์เน็ต มีแต่คนบอกว่าควรบางคนบอกไม่ควร แต่ไม่บอกเหตุผลว่าทำไม ไปที่ร้านก็แนะนำให้เจียรตลอด หรือว่าจะโดนช่างหลอดเงินอีก ปกติตัวผมเองก็ใช้รถเป็นประจำ เปลี่ยนผ้าเบรกก็บ่อย โดยเหตุผลส่วนตัว ผมบอกตรงนี้ไว้เลยครับ ว่าหลังจากการเปลี่ยนผ้าเบรก ควรเจียรจานเบรกหรือไม่นั้นลองพิจารณาดูตามนี้เลยครับ…

ก่อนอื่นต้องอธิบายลักษณะการทำงานเบรกคร่าวๆ ก่อนนะครับ สำหรับรถทั่วไป ล้อข้างหนึ่งจะมีผ้าเบรกสองชิ้นนะครับ ใช้แรงกดจากกระบอกสูบดันให้ผ้าเบรกหนีบเข้ากับจานเบรก ซึ่งติดอยู่กับล้อให้หยุดการหมุนของล้อ ซึ่งจะทำให้รถหยุด ผ้าเบรกประกอบด้วยเนื้อผ้าเบรกและแผ่นเหล็กสำหรับเป็นโครงยึดผ้าเบรก อาจจะติดด้วยกาวหรือวิธีอื่นๆ แล้วแต่ผู้ผลิตแต่ละบริษัท

ทำไมถึง ควรเจียรจานเบรก

ตัวเนื้อผ้าเบรกเองก็มีหลายเกรดหลายเทคโนโลยีการผสม เพื่อให้ได้คุณสมบัติต่างกัน ทั้งเรื่องความฝืด การทนความร้อน การทนแรงอัด แต่ที่เราควรรู้คือผ้าเบรกจะต้องสัมผัสกับจานเบรกทุกครั้งที่เราเหยียบเบรก เพื่อต้องการหยุดหรือชะลอรถ ดังนั้นเมื่อวัตถุสองชนิดเสียดสีกันย่อมเกิดความร้อน และ เกิดการสึกหรอ ทั้งตัวผ้าเบรกและจานเบรกก็ตาม แต่ส่วนที่จะสึกหรอมากกว่าก็คือผ้าเบรก ดังนั้นการเลือกผ้าเบรก ก็จะมีส่วนทำให้จานเบรกของรถเราสึกหรอมากหรือน้อยแตกต่างกันไปครับ เหตุผลหรือความสำคัญของการเจียรจานเบรกออกมาเป็นเป็นข้อๆดังนี้

1. ใช้จนผ้าเบรกหมดถึงเหล็ก จานเบรกก็เป็นรอยเสียหาย

ถ้าใช้จนผ้าเบรกหมดถึงแผ่นเหล็ก ก็เท่ากับ เหล็กกับเหล็ก สัมผัสกันนะครับ ทั้งความร้อนและร่องรอยที่มันก็เกิดแน่นอนจำเป็นต้องเจียรอยู่แล้ว ไม่ต้องอธิบายมาก แค่อยากบอกว่าถ้าเหยียบเบรกแล้วรู้สึกครืดๆ มาที่เท้าเวลาเบรก กรณีนี้รีบไปร้านด่วนเลยครับ อย่ารอให้ แผ่นเหล็กยึดผ้าเบรกหลุดหายล่ะ

2. ผิวจานเบรก เป็นมัน เงา และ ดูลื่น

เนื่องจากผ้าเบรกสัมผัสกับจานเบรกทุกครั้งที่เราเหยียบเบรก ความร้อนก็จะเกิดสะสมตามมา เนื้อผ้าเบรกก็มีหลายเกรด หลายราคาตามคุณสมบัติแตกต่างกันไป ถ้าสังเกตจากรถที่เราใช้อยู่ จะเห็นว่าจานเบรกจะมีลัษณะค่อนข้างมัน เงา และ ดูเรียบลื่น อันนี้ก็เป็นสัญญานไม่ดี ทั้งนี้อาจเกิดจากการเสียดสีและเศษฝุ่นจากผ้าเบรคเกาะอยู่บนผิวหน้าจานเบรก และ เมื่อผิวหน้าสัมผัสโดนความร้อนสะสมนานๆ จะเกิดอาการกระด้าง แข็งและลื่นกว่าเนื้อด้านในนะครับ การเจียรจานเพื่อ ล้างหน้ามันๆ ออกไปบ้าง เป็นการช่วยให้จานเบรกกับผ้าเบรกสัมผัสกันได้เต็มที่ การเจียรผิวหน้าออกบางๆ ก็เป็นการช่วยล้างคราบผ้าเบรก ที่เกาะอยู่บนผิวหน้าจานเบรกออก เพิ่มประสิทธิภาพในการจับกับหน้าผ้าเบรกใหม่ให้ดียิ่งขึ้นครับ

3. ผิวจานเบรกไหม้ขึ้นเป็นสะเก็ด

ความร้อนที่สูงขึ้น สามารถทำให้คุณสมบัติของเนื้อเหล็กของจานเบรกเกิดการแปรสภาพได้ ให้ลองนึกถึงการตีดาบ ที่ช่างตีเหล็กแล้วเอาไปจุ่มน้ำ แล้วตีใหม่จุ่มน้ำซ้ำๆ เพื่อให้ดาบแข็งขึ้น ตัวจานเบรกเองก็คือเหล็กชนิดหนึ่งซึ่งมีโอกาสเกิดการแปรสภาพได้เหมือนกัน

หากลองดูในภาพนะครับ จานเบรกจะเกิดเป็นจุดด่างๆขึ้นรอบตัวจานเบรก รอยเหล่านี้คือเนื้อเหล็กที่แปรสภาพหลังจากโดนความร้อนสะสมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจากทั้งการใช้ผ้าเบรกที่เนื้อแข็ง หรืออาการเบรกติดจนผ้าเบรกเกิดการเสียดสีกับจานเบรกอยู่ตลอดเวลา รอยเหล่านี้มักจะเกิดบนผิวหน้าจานเบรก ซึ่งสามารถเจียรออกได้ในระดับหนึ่งครับ จุดเหล่านี้มักจะมีเนื้อแข็งกว่าเนื้อจานเบรคปกติ ซึ่งจะทำให้เวลาผ้าเบรกสัมผัสกับจานแล้วเกิดอาการสะดุดจนบางครั้งสะเทือนขึ้นไปที่แป้นเบรกได้

4. จานเบรกก็เกิดเป็นรอยตามผ้าเบรกได้เช่นกัน

ทั้งผ้าเบรกและจานเบรก ต่างสึกหรอจากการสัมผัส เสียดสีทั้งคู่ แต่ผ้าเบรกมักจะสึกหรอมากกว่า ทั้งนี้ในบางกรณี จานเบรกก็อาจจะสึกหรอมากอย่างที่เห็นในภาพได้ กรณีอย่างที่เห็น ควรจะเจียรเอาขอบออกนะครับ เพราะผ้าเบรกที่ใส่เข้าไปใหม่ จะมีหน้าผ้าเบรกแตกต่างกันไปตามยี่ห้อผู้ผลิต ความกว้างที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดอาการดิ้นของผ้าเบรกได้ครับ

4.1 จานเบรกสึกแบบเรียบเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

ขออยู่ภายใต้หัวข้อของจานเบรกสึกก็แล้วกันนะครับ เคสอย่างนี้คือการที่ผ้าเบรกกัดจานเบรกเต็มหน้าแต่เอียง เพราะฉะนั้นเราจะไม่ทราบได้เลยว่าที่เห็นหน้าจานเบรกเรียบๆอยู่เนี่ย มันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งหรือไม่ จนกว่าเราจะถอดออกไปขึ้นแท่นตั้งศูนย์จานเบรกแล้วเดินเครื่องดู จากรูปจะเห็นว่าผ้าเบรกทั้งสองชิ้นจะจับกับหน้าจานเบรกทั้งสองด้าน ซึ่งควรจะมีความเรียบขนานกัน เพื่อให้หน้าผ้าเบรกทั้งสองประกบกันสนิท ทีนี้ลองเทียบภาพนี้กับภาพด้านล่างดูนะครับ ว่าภาพด้านล่างตัวจานเบรกมีอะไรผิดปกติไปรึเปล่า

4.2 จานเบรกสึกแบบไม่สม่ำเสมอเป็นคลื่น

อันนีเกิดจากการใส่ผ้าเบรกที่ไม่มีคุณภาพนะครับ เนื้อผ้าเบรก นอกจากจะแข็งแล้วยังมีความไม่สม่ำเสมอของวัตถุดิบในเนื้อผ้าเบรก ทำให้จานเบรกถูกกัดลึกเป็นคลื่น หน้าไม่เรียบเสมอกัน

จากรูปที่เห็น เป็นตัวอย่างของเคสนี้ที่มองด้วยตาเปล่าเห็นนะครับ ยังมีอีกหลายเคสที่เป็นลักษณะนี้เพียงแต่ไม่มาก ทำให้สังเกตุด้วยตาเปล่าไม่ออก เอานิ้วลูบไปก็เท่านั้น เพราะนิ้วมันแยกแยะได้ไม่ออกหรอกครับว่าพื้นผิวมันได้ระนาบรึเปล่า

4.3 จานเบรกทั้งสึกแบบไม่สม่ำเสมอและเอียง

อันนี้อาการหนักเลยครับ เพราะทั้งเอียงด้วย เป็นลอนด้วย เจ้าได้เข้าประทับทันทีหลังจากออกจากร้านเลยครับ นึกภาพจานเบรกข้อ 4.1 รวมกับข้อ 4.2 เอาละกันนะครับ

4.4 จานเบรกสึกเป็นร่องเล็กทั้งวง

ลักษณะคือการที่จานเบรกสึกเป็นรองเล็กๆไปรอบวงจาน เกิดจากผ้าเบรกที่เนื้อไม่สม่ำเสมอ และมีโลหะเป็นส่วนผสมเยอะ พอเนื้อโลหะไม่ได้ถูกบดละเอียดพอ ก็จะกัดจานเบรกเป็นร่องลึกเฉพาะจุดที่เนื้อโลหะนั้นสัมผัสจาน อาการแบบนี้ไม่ได้ทำให้จานคดหรือสั่น แต่จะหอนเป็นรถเมล์ ทุกครั้งที่แตะเบรกแน่นอน

5. ปล่อยให้เกิดสนิมบนหน้าจานเบรก

สนิมพอเกิดบนเนื้อเหล็กแล้ว มันไม่หายไปเองนะครับ แถมมันจะกัดผ้าเบรกให้เป็นรอยตามเนื้อสนิมนี้อีกต่างหาก กรณีรถที่จอดทิ้งไว้นานๆ หรือล้างรถเสร็จแล้วจอดอยู่ในบ้านตลอดกลัวฝุ่นจับ รับรองไม่นานน้องหนิมได้มาเยือนแน่นอน ทีนี้ปัญหาคือ สนิมพอเจอกับผ้าเบรกแล้วมันจะไปเกาะผ้าเบรก จะทำให้ลื่นเข้าไปอีก

6. จานเบรก “ร้าว”

จานเบรก “ร้าว” เจียรแล้วใช้ต่อได้อีกเหรอไม่?  อาการร้าวบางครั้งอาจร้าวแค่ตรงผิวหน้า ก็พอจะเจียรล้างหน้าออกได้ แต่ต้องดูว่าคุณสมบัติของเนื้อจานเบรก มันอาจจะเปลี่ยนไป มีโอกาส ร้าวเกิดขึ้นได้อีก เพื่อความปลอดภัยเปลี่ยนใหม่ดีที่สุดครับ

7. สาเหตุที่ต้องเจียร เนื่องจานเบรกคด

ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน ทำให้เนื้อเหล็กหดตัวไม่เท่ากัน และนี่ก็คือสาเหตุที่เจอมากที่สุด อาการที่แสดงให้เห็นชัดสุด เบรกแล้วสั่นสู้เท้า ทีนี้ อาการคดนี่คือคดได้ยังไง พอจะเจียรให้เรียบเหมือนเดิมได้หรือไม่ ต้องดูเป็นกรณีไป

จากภาพแรกพอจะมองออกมั้ยครับว่ามันคดยังไง ถ้ามองไม่ออก เดี๋ยวผมลองลากเส้นระนาบเทียบให้ดูครับ

คำเตือน เมื่อใช้เบรกมาหนักๆ อย่าเพิ่งรีบล้างรถทันที เพราะจานเบรกที่ร้อนจัดเมื่อถูกน้ำจะทำให้เหล็กเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกระทันหัน จานเบรกอาจคด หรือ ร้าวได้ จนเกิดอาการเบรกสู้เท้า และต้องเจียรจานเบรก เพื่อแก้ไข

การเจียรจานเบรก คือการปาดหน้าปรับผิวจานเบรกที่ถูกใช้งาน จนสึกเป็นร่องลึกหรือคดให้กลับมาเรียบดังเดิม เพื่อรับกับผิวหน้าผ้าเบรกได้มากที่สุด โดยการใช้เครื่องมือไสผิวหน้าจานเบรกออกไป ซึ่งแน่นนอนว่าย่อมทำให้จานเบรกบางลงเช่นกัน

ทีนี้มาดูกัน เมื่อไหร่ต้องเจียรจานเบรก

-เมื่อเบรกแล้วเกิดอาการสั่นสะท้านมาถึงเท้า หรือที่เรียกว่า “เบรกสู้เท้า” โดยต้นตอเกิดจากจานเบรกคด ส่วนสาเหตุที่ทำให้จานเบรกคดนั้นส่วนใหญ่เกิดจากการใช้เบรก มาหนัก ๆ จนเกิดความร้อนสูงแล้วเจอน้ำ

– เมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ แล้วพบว่าจานเบรก สึกเป็นร่องลึก

เทคนิคควรรู้

-เมื่อใช้เบรกมาหนัก ๆ อย่าล้างรถทันที เพราะจานเบรกที่ร้อนจัดเมื่อถูกน้ำจะทำให้คด จนเกิดอาการเบรกสู้เท้า และต้องเจียรจานเบรก เพื่อแก้ไข

-รถทุกยี่ห้อทุกรุ่น จะมีตัวเลขกำหนด ค่าความบางของจานเบรกมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรอยู่บนตัวจานเบรก หากพบว่าจานเบรกบางกว่าค่าที่กำหนดให้เปลี่ยนจานเบรกใหม่ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของระบบเบรก

-การเจียรจานเบรกทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรก เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบเบรก

-แม้การเจียรจานเบรก จะเพิ่มประสิทธิภาพระบบเบรกให้ดีขึ้น แต่ถ้าจานเบรกไม่คดหรือมีร่องลึกก็ไม่จำเป็นต้องเจียรทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าเบรกก็ได้

-ทุกครั้งหลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ไม่ว่าจะเจียรจานเบรก หรือไม่ก็ตาม ไม่ควรใช้ความเร็วมาก และ ควรแตะเบรกแบบนิ่มนวลในระยะ กิโลเมตรแรก เพื่อให้หน้าสัมผัส ผ้าเบรกกับจานเบรก แนบสนิทและจะได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน.

คำถามสำคัญที่เจอบ่อยมากๆครับ “ไปเปลี่ยนผ้าเบรก หรือเจียรจานเบรกที่ไหนดี?”

คำตอบไม่ยากครับ แค่เปลี่ยนผ้าเบรกเฉยๆ ไม่เจียรจาน เปลี่ยนที่ไหนก็ได้ครับ แค่ขันน๊อต ออกสองสามตัวก็เปลี่ยนได้แล้วครับ

แต่..ที่พบบ่อย คือช่างไม่ได้มีความรู้โดยตรง ว่าควรจะใส่ใจตรงไหน เป็นพิเศษ ทั้งการใส่ จารบีที่สลักคาลิเปอร์ การใส่จารบีที่ลูกยางกันฝุ่นลูกสูบ การดันลูกสูบกลับแล้วไม่ไล่ลมออกจากขอบยาง ทำให้ขอบยางเสียดสีและขาด น้ำเข้า สนิมเกาะอีก และ ที่เจอบ่อยสุดๆ….คือไม่ใส่แผ่นชิมเมอร์ (แผ่นซับเสียงของผ้าเบรก) ที่ติดมากับรถ แผ่นชิมเมอร์นี้สำคัญนะครับ และ ขอบอกเลยว่าไปหาซื้อใหม่ตามร้านอะไหล่ไม่ง่ายครับ บางทีคุณภาพไม่เท่าของเดิมๆ ติดรถมา ไปสั่งศูนย์ฯ แค่แผ่นเหล็กไม่กี่แผ่น ราคาหลายตังครับ

ส่วนเจียรจานเบรกที่ไหนดี… ข้อให้สังเกตุนิดนึงครับ ให้ดูว่าร้านนั้นๆ มีเครื่องเจียรจานเบรกยี่ห้อไหน ให้มองหาเครื่องเจียรที่ค่อนข้างได้มาตรฐาน ช่างฝีมือ ชำนาญงาน

ทั้งหมดนี้พอจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจได้บาง จะเสียเงินทั้งทีต้องให้คุ้มค่า และ ปลอดภัย

แชร์

LINE
Facebook
Twitter
Pinterest

หมวดหมู่

ยานยนต์ เทคนิคการใช้รถ