4 เส้นทางถนนตัดใหม่ กทม. ปริมณฑล เราได้รวมข้อมูล โครงการถนนตัดใหม่ หลายแหล่ง พบว่า มีหลายโครงการยังไม่ผ่านการอนุมัติ ก็พอเห็นตามข่าวอยู่บ้างว่ามีแผนจะก่อสร้าง หลายๆ เส้นทางถูกนำไปใช้อ้างอิงเพื่อทำการตลาดและชูเป็นจุดขายของเหล่า ธุรกิจ น้อยใหญ่ รวมถึงที่อยู่อาศัย
เท่าที่เราทราบ ก็พบว่ามีการก่อสร้างบางเส้นทางไปแล้วเมื่อถนนตัดใหม่เข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ย่อมทำให้เกิดการพัฒนาหลายด้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะ มี 4 เส้นทางถนนตัดใหม่ ผ่าน กทม. ปริมณฑล ได้แก่
- ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 15.2 กม
- ถนนนครอินทร์- ศาลายา รวมระยะทาง 12 กม
- ถนนสุขสวัสดิ์-เพชรเกษม-วงแหวนใต้ รวมระยะทาง 20 กม
- ถนนวงแหวนรอบนอก วงที่ 3 รวมระยะทาง 254 กม
โดยทั้ง 4 เส้นทางเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการถนนตัดใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ละเส้นทางมีรายละเอียดอย่างไร ที่ไหนบ้าง Truck2Hand ขอพาทุกท่านไปดูกัน
เนื่องจากการก่อสร้างถนนเป็นโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งต้องมีการวางแผน และ ต้องขออนุมัติงบจากส่วนกลาง จะเห็นว่าบางโครงการนั้นใช้เวลาดำเนินการนานหลายปี บ้างก็มีการแก้ไขแบบ ปรับแนวเส้นทางไปหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งปกติแล้วหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบจะมีการว่าจ้างบริษัทเอกชนให้เข้ามาประมูลงานในส่วนต่างๆ เช่น งานที่ปรึกษาโครงการ งานสำรวจเส้นทาง งานก่อสร้าง เป็นต้น
สำหรับลูกค้าที่ใช้รถ Chevrolet T2H แนะนำ อู่ซ่อมเชฟโรเลต
เนื่องจากมีโครงการถนนตัดใหม่เยอะมาก ดังนั้นเราจะขอพูดถึงในบทความนี้แค่ 4 เส้นทาง เฉพาะโครงการที่มีข้อมูลค่อนข้างมีความชัดเจนและคืบหน้า โดยต้องมีข้อมูลเปิดเผยสู่สาธารณชน ประกอบไปด้วย
1. ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 (ถนนพระเทพตัดใหม่)
เส้นทางนี้มีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ “ถนนพระเทพตัดใหม่” เป็นถนนที่ต่อขยายมาจากถนนพรานนก ยาวจนถึงโซนพุทธมณฑลสาย 4 เรียกได้ว่าเชื่อมตั้งแต่โซนรพ.ศิริราช ถึงจังหวัดนครปฐมเลยค่ะ แต่เดิมพื้นที่ในโซนถนนตัดใหม่นี้มีลักษณะเป็นป่า มีที่ดินว่างรอการพัฒนา หลังจากที่เริ่มก่อสร้างถนนตัดใหม่ ก็เริ่มมีร้านค้า ตลาด และชุมชน เข้าสู่พื้นที่นี้กันมากขึ้น
สำหรับการก่อสร้างเส้นทาง พรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ช่วยระบายความหนาแน่นของการจราจรบนถนนบรมราชชนนี แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นมาจากบริเวณสามแยกไฟฉาย ตัดผ่านถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนราชพฤกษ์ และถนนพุทธมณฑลสาย 1 ถึงสาย 4 ระยะทางรวม 15.2 กิโลเมตร เป็นถนน 4-6 ช่องจราจร โครงการนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักการโยธาฯ กรุงเทพมหานคร แบ่งแนวเส้นทางออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน ได้แก่
- ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตัดผ่านถนนราชพฤกษ์ และพุทธมณฑลสาย 1 ไปบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษก
- ช่วงที่ 2 จากถนนกาญจนาภิเษก ตัดผ่านถนนพุทธมณฑลสาย 2 (เป็นทางยกระดับระยะสั้น 1.67 กิโลเมตร)
- ช่วงที่ 3 จากถนนพุทธมณฑลสาย 2 ตัดผ่านถนนพุทธมณฑลสาย 3
- ช่วงที่ 4 จากถนนพุทธมณฑลสาย 3 ไปสิ้นสุดที่ถนนพุทธมณฑลสาย 4
ปัจจุบันโครงการนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้วในช่วงที่ 1-2 นั่นคือจากแยกไฟฉายถึงถนนพุทธมณฑลสาย 2 ส่วนที่เหลือในช่วงพุทธมณฑลสาย 2 ถึงพุทธมณฑลสาย 3 กำลังดำเนินการก่อสร้าง ส่วนสาย 3-4 กำลังอยู่ในระหว่างเวนคืนที่ดิน และ จะดำเนินการก่อสร้างต่อไป คาดว่าจะเริ่มต้นก่อสร้างได้ในปี 2565 นี้
2. ถนนนครอินทร์-ศาลายา
โครงการ ถนนนครอินทร์-ศาลายา อยู่ภายใต้การดูแลและก่อสร้างของกรมทางหลวงชนบท จะก่อสร้างเป็นถนน 6 ช่องจราจร แนวเส้นทางจะครอบคลุมอำเภอบางใหญ่และบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
สำหรับเส้นทางสายนี้จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหารถติดบนถนนวงแหวนรอบนอกหรือกาญจนาภิเษก ฝั่งตะวันตก และถนนบรมราชชนนี ซึ่งทั้ง 2 เส้นทางเป็นถนนเส้นหลักที่ใช้กันอยู่ในโซนนี้ การจราจรจึงค่อนข้างหนาแน่น รวมไปถึงยังมีถนนเส้นรองหลายสายที่มักเจอปัญหารถติดตามตรอกซอยต่างๆโดยเฉพาะช่วงเวลาเร่งรีบ
เนื่องจากปัจจุบันมีโครงการหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นในโซนบางใหญ่ บางกรวย และศาลายาเป็นจำนวนมาก การใช้รถสัญจรเข้าออกตามถนนเส้นรองจึงมีปัญหาตามไปด้วย ดังนั้นการเข้ามาของ ถนนนครอินทร์-ศาลายา จะช่วยระบายรถเข้าออกพื้นที่ได้ดีขึ้น โดยสามารถลัดเลาะออกไปยังถนนนครอินทร์และพระราม 5 ได้อย่างรวดเร็ว เชื่อมเข้าเมืองนนทบุรีหรือจะเข้ากรุงเทพฯ ก็สะดวก โดยที่ไม่ต้องวิ่งเข้าถนนกาญจนาภิเษกหรือถนนบรมฯ อีกต่อไป
ปัจจุบันครม.ผ่านการอนุมัติเวนคืนแล้ว คาดว่าช่วงกลางปีนี้จะมีการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ในราชกิจจานุเบกษาและเริ่มเวนคืนที่ดินอย่างเป็นทางการ ส่วนการดำเนินการก่อสร้าง จะเริ่มในปี 2567 เสร็จสิ้นประมาณปี 2569
ถนนนครอินทร์- ศาลายา มีทิศทางวางตัวเชื่อมต่อด้านตะวันออก-ตะวันตก โดยมีจุดเริ่มต้นจากทางหลวงชนบทสาย นฐ.5035 อยู่ในเขตตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะวิ่งไปทางทิศตะวันออก ส่วนใหญ่จะผ่านแนวคลองต่างๆและพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงพื้นที่หมู่บ้านและชุมชนบางส่วนในอำเภอบางกรวยและบางใหญ่ จากนั้นจะบรรจบกับถนนกาญจนาภิเษกโดยเชื่อมกับทางแยกต่างระดับบางคูเวียง และเข้าถนนนครอินทร์ต่อไป รวมระยะทางทั้งหมด 12 กิโลเมตร
3. ถนนสุขสวัสดิ์-เพชรเกษม-วงแหวนใต้
เส้นทางนี้เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ความรับผิดชอบของ สำนักการโยธาฯ กรุงเทพมหานคร โดยจะเป็นการก่อสร้างตามผังเมืองกรุงเทพฯ (สาย ฉ1 และ ง21) เพื่อเชื่อมต่อฝั่งธนบุรี ไปยังวงแหวนอุตสาหกรรม ในฐานะโครงข่ายถนนเชื่อมกรุงเทพฯ ในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้การเดินทางสะดวกสบายยิ่งขึ้น และยังช่วยแก้ไขปัญหารถติดของฝั่งธนบุรี โดยเฉพาะบริเวณจุดตัดถนนต่างๆได้เป็นอย่างดี
ถนนเส้นนี้มีระยะทางรวม ประมาณ 20 กิโลเมตร สร้างเป็น 4-6 ช่องจราจร ครอบคลุมถนนหลายสาย โดยจะเริ่มตั้งแต่ถนนสุขสวัสดิ์ยาวไปจนถึงถนนวงแหวนรอบนอกหรือกาญจนาภิเษกด้านใต้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน
- ช่วงที่ 1 เริ่มต้นจาก ถนนเพชรเกษม บริเวณที่เป็นจุดตัดกับถนนพุทธมณฑลสาย 1 วิ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และตัดผ่านถนนเทอดไท บริเวณแยกถนนศาลธนบุรี (กำนันแม้น) จากนั้นวิ่งไปกัลปพฤกษ์ เอกชัย พระราม 2 พุทธบูชา ไปจนถึง ถนนสุขสวัสดิ์ กับ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
- ช่วงที่ 2 เริ่มจาก ถนนสุขสวัสดิ์และวงแหวนอุตสาหกรรม วิ่งไปตามแนวถนนสาย ง 21 กระทั่งไปจนสิ้นสุดที่ถนนวงแหวนรอบนอกหรือกาญจนาภิเษกด้านใต้
ปัจจุบันถนนเส้นนี้ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินแล้ว คาดว่าจะสามารถเวนคืนที่ดินและดำเนินการก่อสร้างเป็นลำดับต่อไป
4. ถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานคร วงที่ 3
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร คือถนนที่มีลักษณะโอบล้อมเมือง วัตถุประสงค์ของการสร้างถนนวงแหวนเพื่อทำให้เกิดเส้นทางสัญจรล้อมรอบพื้นที่ CBD ช่วยแก้ไขปัญหารถติดของบรรดาถนนที่อยู่ใจกลางเมือง
นับตั้งแต่อดีตได้มีการสร้างถนนวงแหวนรอบรอบนอกฯ มาแล้ว 2 วง ด้วยกัน
- วงที่ 1 วงแหวนรัชดาภิเษก
- วงที่ 2 วงแหวนกาญจนาภิเษก
ซึ่งแต่ละวงของถนนวงแหวนนั้นจะขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เพื่อขยายเส้นทางการจราจรให้ครอบคลุมโซนเมืองที่มีความหนาแน่นตามกาลเวลา
ถนนวงแหวนมักจะมีรัศมีเส้นทางที่กว้างและมีระยะทางไกล จากหลักสิบกิโลเมตร ไปจนถึงหลักร้อยกิโลเมตร ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นด้านตะวันตกและด้านตะวันออก อย่างโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร วงที่ 3 ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ได้ทำการศึกษามาตั้งแต่ปี 2552 ปัจจุบันแนวเส้นทางยังคงเดิม โดยจะมีระยะทางรวมกว่า 254 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของกรุงเทพฯ, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นครปฐม และ นนทบุรี รวมทั้งสิ้น 7 จังหวัด
ทั้งนี้การก่อสร้างถนนวงแหวนฯ วงที่ 3 จะเป็น 6-8 ช่องจราจร โดยจะแบ่งแนวเส้นทางออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านตะวันออก, ตะวันตก และ ใต้ โดยจะมีความคืบหน้าแตกต่างกัน
- ทิศตะวันออก ระยะทางรวม 97 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง เริ่มต้นตั้งแต่บริเวณถนนรังสิต-นครนายก บริเวณคลอง 10-11 เขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี พาดผ่านยาวมาทางทิศใต้ เข้าสู่เขตกรุงเทพฯ ยาวมาจนถึงพื้นที่อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ถนนบางนา-ตราด (กม.ที่ 23+850)
- ทิศตะวันตก ระยะทางรวม 98 กิโลเมตร เริ่มต้นจากถนนพระราม 2 มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ผ่านสมุทรสาคร นนทบุรี และ นครปฐม ไปบรรจบกับถนนสายเอเชีย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันแนวเส้นทางด้านนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาและรับฟังความคิดเห็น
- ทิศใต้ ระยะทางรวม 59 กิโลเมตร เริ่มจากถนนพระราม 2 ยาวมาจนถึง ถนนบางนา-ตราด ปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณา เรื่องซ้ำกับแนวเส้นทางของโครงการอื่นๆ
ทั้งหมดเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เส้นทางถนนตัดใหม่ยังมีอีกเยอะ เพื่อลดปัญหาการจราจรที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อาจมีการเปลื่ยนแปลงได้ ติดตามข่าวสารจากกรมทางหลวง
เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารดีๆจากเราอย่าลืมแวะเข้ามาดู Blog ของเราบ่อยๆกันนะครับ https://www.truck2hand.com/blogs/
ที่มาข้อมูล : https://thinkofliving.com/
หากสนใจ รถบรรทุกมือสอง , รถกระบะมือสอง หรือ รถยนต์มือสอง อย่าลืมเข้ามาค้นหาได้ที่เว็บไซต์ truck2hand นะครับ